5 สิ่งควรรู้ เมื่อมีผู้สูงอายุที่บ้านนอนติดเตียง

สารบัญ (Table of Content)

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง คือ การดูแลผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ตามที่ต้องการ และต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานาน เนื่องจากสาเหตุหลายประการ โดยการดูแลจะเป็นการให้ความช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น อาบน้ำ ป้อนอาหาร การป้องกันอันตรายจากสาเหตุต่างๆ รวมไปถึงการช่วยเหลือด้านอารมณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดความเครียด ความกังวล ส่งผลให้สุขภาพร่างกาย และสภาพจิตใจโดยรวมของผู้ป่วยเป็นไปในทิศทางที่ดี มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น

ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นหนึ่งในการรักษาสุขภาพของผู้ป่วย ช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง และยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย เช่น แผลกดทับ กล้ามเนื้อลีบ การติดเชื้อทางเดินหายใจ รวมไปถึงป้องกันการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อร้ายแรง นอกจากนี้ช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงมีภาวะทางอารมณ์ที่ดี ทำให้ไม่มีภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล ส่งผลให้ผู้ป่วยมีทัศนคติเชิงบวก และมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น

5 วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุติดเตียงอย่างถูกต้อง

1.หมั่นพลิกตัวและเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วย

การพลิกตัว และเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วย จะช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับ และเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ ผู้ป่วยจึงควรได้รับการเปลี่ยนท่านอนทุกๆ 2-3 ชั่วโมง แต่การพลิกตัว หรือเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วย จะต้องทำด้วยความระมัดระวัง และใช้เทคนิคที่ถูกต้องเท่านั้น

2.ปรับให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งขณะทานอาหาร

การปรับให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งขณะทานอาหาร สามารถทำได้ด้วยการปรับเตียง ประมาณ 45 องศา โดยให้ผู้ป่วยชิดไปกับผนังพิง เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยมีความมั่นคงในขณะทานอาหาร และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารอย่างสะดวก โดยไม่เกิดการสำลัก หรือเกิดอันตรายต่างๆ

3.ดูแลความสะอาดของร่างกายและช่องปาก

ควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าให้กับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ผ้าเช็ดตัว และผ้านุ่มเพื่อไม่ทำลายผิวหนัง และควรทำความสะอาดช่องปากของผู้ป่วย โดยน้ำยาบ้วนปากแล้วแปรงสีฟัน โดยควรทำอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันได้ ให้ใช้ผ้านิ่มชุบน้ำยาบ้วนปากเช็ดฟันแทน

4.ให้ผู้ป่วยนอนในห้องที่สะอาด และมีอากาศถ่ายเท

การจัดให้ผู้ป่วยพักในห้องพักที่มีความสะอาด และมีอากาศถ่ายเทเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยพักฟื้นและรักษาตัวได้ดีขึ้น หายเร็วยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และสร้างความสะดวกสบายให้กับการรักษาได้อีกด้วย

5.คอยตรวจเช็คสุขภาพจิตของผู้ป่วยอยู่เสมอ

การตรวจเช็คสุขภาพจิตของผู้ป่วยเป็นประจำ จะทำให้ผู้ดูแล และแพทย์ได้รู้ว่าสภาพจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วก็จะได้วินิจฉัยโรคทางสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้การตรวจเช็คสุขภาพจิตยังช่วยให้สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

"ให้บ้านแสนรัก ดูแลคนที่คุณห่วงใย ด้วยหัวใจที่อบอุ่น"
ติดต่อสอบถาม

บทความที่เกี่ยวข้อง